บุญชู ภูศรี
ล้านช้างกว้างใหญ่เมื่อเจ้าฟ้างุ้มปราบบ้านเมืองในลุ่มน้ำโขง ให้อยู่ภายใต้อิทธิพลของเมืองเชียงดงเชียงทอง โดยสัญญะของความสวามิภักดิ์ของบ้านเมืองที่เจ้าฟ้างุ้มเดินทัพไปปราบนั้น คือ สองเดือนให้ส่งคนมารายงานสถานการณ์หรือเหตุการณ์ในบ้านเมืองนั้นทุกเมือง และสามปีจึงให้เจ้าเมืองมาเชียงดงเชียงทองหนึ่งครั้ง จึงเป็นไปได้ว่าตลอดระยะเวลาเจ้าฟ้างุ้มปกครองบ้านเมืองนั้น (1896-1936) ใช้วิธีการดังกล่าวนี้ โดยไม่ปรากฏว่ามีพิธีกรรมดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาแต่อย่างใด ดังข้อความต่อไปนี้ [1]
ภาพจาก มหาสิลา วีระวงส์, 2001 หน้า 44
พิธีกรรมที่มีการสื่อสัญญะของการสาบานหรือให้คำสัตย์ว่าจะตั้งอยู่ในความจงรักภักดีนี้ หรือการดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาของอาณาจักรล้านช้างเริ่มมีความชัดเจนในสมัยเจ้าอุ่นเรือน หรือพญาสามแสนไทไตรภูวนาถ (พ.ศ.1936-1959) โดยในตำนานขุนบรมราชาธิราชฉบับวัดหมื่นนา แขวงหลวงพระบาง กล่าวถึง พระเจ้าอุ่นเรือน ซึ่งหมอโหรเคยทำนายว่าจะสวรรคตด้วยการจมน้ำ (ตายดึกน้ำ) แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามที่หมอโหรทำนาย จนกระทั่งพระชนมายุได้ 79 พรรษา ได้เสวยน้ำแค้น (แค้นน้ำ คือ การดื่มน้ำแล้วน้ำมาตันที่คอ) สวรรคตเมื่อสังขาร (สงกรานต์/ตรุษสงกานต์) ดังข้อความต่อไปนี้
นับแต่พญาสามแสนไทมีอายุได้ ๗๙ ปี หมอทวายแต่น้อยว่าจักตายดึกน้ำ
มาได้กินน้ำเมื่อสังขานไปแค้นน้ำตายที่โฮงเชียงทองหั้นแล[2]
ตำนานขุนบรมฉบับปริวรรตโดยสิลา วีระวงส์ และนวน อุเทนสักดา กล่าวไว้คล้ายคลึงกันกับตำนานขุนบรมราชาธิราช ฉบับวัดหมื่นนา ดังนี้
ขุนบรมราชาธิราช ฉบับหอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง อธิบายข้อความชัดเจนกว่า 2 ฉบับข้างต้น โดยกล่าวว่า น้ำที่พระเจ้าสามเเสนไทไตรภูวนาถเสวยนั้น คือ น้ำพิพัฒน์สัตยา () โดยการเสวยน้ำพิพัฒน์สัตยานั้นเป็นการเสวยเมื่อสังขาร ซึ่งน่าจะเป็นปีใหม่หรือตอนขึ้นปีใหม่ ซึ่งน่าจะเป็นการขึ้นปีใหม่และให้เจ้าเมืองต่าง ๆ มาทำพิธีดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาด้วย ดังต่อไปนี้
อักษรธรรม
เขียนข้อความว่า "น้ำพระพิพัฒน์"
ตามหลักฐานแสดงให้เห็นว่าการดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาของอาณาจักรล้านช้างตอนต้น
มีการทำพิธีในช่วงเดือนห้าโดยเริ่มมีความชัดเจนว่าเริ่มในสมัยพระเจ้าสามแสนไทไตรภูวนาถเป็นต้นมา
[3] ສິລາ ວີຣະວົງ ແລະນວນ
ອຸເທນສັກດາ. (2510).
ນິທານຂຸນບໍຣົມຣາຊາທິຮາຊ ສະບັບທີ່ 1. ວຽງຈັນ: ກະຊວງທັມມະກາຣ. |hk 84
ความคิดเห็น