บุญชู ภูศรี
ประวัติศาสตร์ลาว
ได้กล่าวถึงวีรกษัตริย์ ๓ พระองค์ ซึ่งในบั้นปลายของชีวิตกลับไม่มีความราบรื่นสวยงาม
คือ เจ้าฟ้างุ้ม พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช และเจ้าอนุวงศ์, เจ้าฟ้างุ้ม ในช่วงปลายรัชกาล
พระองค์ได้ถูกเสนาอำมาตย์และประชาชนบังคับให้พระองค์สละราชสมบัติ
แล้วเนรเทศไปอยู่เมืองน่าน พระองค์ประทับอยู่ที่เมืองน่านได้ ๒ ปี ก็เสด็จสวรรคต,
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในช่วงท้ายรัชกาล พระองค์ได้ยกทัพไปรบเมืององกาน
แล้วหายสาบสูญไป, พระเจ้าอนุวงศ์ ในช่วงท้ายรัชกาลได้ทำสงครามกอบกู้อิสรภาพ
สุดท้ายถูกจับตัวไปทรมาน สวรรคตอย่างอนาถ
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นกษัตริย์ล้านช้างที่สวรรคตอย่างลึกลับ หลักฐานจากพงศาวดารของล้านช้างไม่ปรากฏว่าพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อไหร่
หลักฐานจากศิลาจารึกที่ค้นพบในปัจจุบัน จารึกครั้งล่าสุดที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
คือ จารึกมหาธาตุเจ้าเชียงใหม่นาบอน ลงศักราช ๙๒๙ (พ.ศ. ๒๑๑๐)[1] แต่ปรากฏว่าศิลาจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา
๒ ลงศักราช ๙๓๔ (พ.ศ. ๒๑๑๕) ได้ปรากฏพระนามของกษัตริย์ล้านช้างพระองค์ใหม่ คือ
พระเจ้าสุมังคลไอยโกโพธิสัตว์ และพระวรรัตนธรรมประโชติกุมาร[2]
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้หายสาบสูญไปแล้ว ก่อน พ.ศ. ๒๑๑๕
อย่างแน่นอน
ในกรณีการหายสาบสูญไปของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ประวัติศาสตร์ลาวกล่าวถึงตอนนี้ว่า
พระยานคร กับอดีตพระสังฆราชวัดมัชฌิอาราม คิดกบฏ แต่งอุบายให้ข่าวมาถึงพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชว่า
เจ้าเมืององกาน[3] ถึงแก่กรรม
เจ้าเมืององกานมีบุตรี ๒ คน ต้องการที่จะมาถวายตัวเป็นบาทบริจาริกา โดยให้พระสงฆ์
๒ รูปนำสาส์นขึ้นมาถวาย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงปลงพระทัยเชื่อแน่
จึงให้ราชทูตถือสาส์นไปเมืององกาน เจ้าเมืององกานโกรธแค้นขับไล่ทูตลาวไม่ให้เข้าเฝ้า
สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐธิราชจึงกรีฑาทัพไปรบเมืององกานใน พ.ศ. ๒๑๑๕ เมื่อไปถึงเขตแดนเมืององกาน
พระยานครทำอุบายพากองทัพพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเข้าไปในระหว่างกองทัพของตน
ทัพพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชยังไม่ทันรู้ตัว ก็ถูกตีแตกกระจัดกระจาย
พระยานครทำอุบายพาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชหลบหนีข้ามแม่น้ำโขงไปฝั่งใน
แล้วพาหนีไปเสียที่ใดไม่รู้[4]
ส่วนพระยาแสนสุรินทร์และพระยาจันกองนางพาทหารแตกหนีคืนมาเวียงจัน[5]
สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
เรียบเรียงโดย
ดวงไช หลวงพะสี
ในประวัติศาสตร์ลาว
(ดึกดำบรรพ์ ถึง ปัจจุบัน) ของ
ดร.สุเนด โพทิสาน และหนูไช พูมมะจัน กล่าวตามพงศาวดารลาวเพียงเล็กน้อย
ส่วนใหญ่เป็นการหาหลักฐานมาอธิบายพงศาวดารลาวอีกชั้นหนึ่ง
ซึ่งพงศาวดารลาวกล่าวเพียงว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ยกทัพลงไปตีเมืองลามะลักองกาน
หรือ เมืองโลมวันองกาน ในปี พ.ศ. ๒๑๑๔ แล้วหายสาบสูญไป
ดร.สุเนด โพทิสาน และหนูไช พูมมะจัน ได้อธิบายประวัติศาสตร์ลาวตอนนี้โดยอ้างอิงพงศาวดารเขมร
ซึ่งกล่าวว่า ปี พ.ศ. ๒๑๑๓ พระเจ้าบรมราชาธิราชรามธิบดี
ได้ยกกองทัพเข้าตีนครราชสีมา จับผู้คนเป็นเฉลยจำนวนมาก
พระเจ้ากรุงลาวส่งทัพไปตีต้านเขมร แต่ก็ถูกเขมรตีแตกและถูกจับเป็นเฉลยจำนวนมาก ปี
พ.ศ. ๒๑๑๔ พระเจ้ากรุงลาวจึงนำทัพไปเมืองสันทุกด้วยตัวเองเพื่อตีต้านเขมรให้ถอยกลับแต่ก็ปราชัยและทหารลาวถูกจับเป็นเฉลยอีก
ส่วนเจ้ากรุงลาวเอาตัวหลบหนีมาได้ พ.ศ. ๒๑๑๕
พระมหาอุปราชของลาวได้ยกทัพไปตามตีเขมรไปถึงเกาะเจ้ารามแต่ก็ปราชัยอีก
จากหลักฐานนี้แสดงว่า
เมืองลามะลักองกาน หรือ โลมวันองกาน ในเอกสารลาว หมายถึงเมืองอังกอร์
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชหลังจากสงครามกับเขมรครั้งที่ ๒
แล้วเข้าปรับปรุงกำลังอยู่บ้านอิดกะบือ[6]
แต่ประชวรสิ้นพระชนม์ก่อน จึงได้ก่อเจดีย์ไว้ที่เมืองนี้[7]
ภายหลังต่อมา
ดร.สุเนด โพทิสาน ได้อธิบายประวัติศาสตร์ตอนนี้เพิ่มเติม
ในการประชุมนานาชาติ เรื่อง การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุไท
ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔[8] และในงานพบปะทางวิชาการว่าด้วย “วีรกรรมพระเจ้าอนุวง” ดร. สุเนด โพทิสาน กล่าวว่า
สงครามระหว่างลาวกับเขมรเกิดขึ้น ๓ ครั้ง คือ เขมรยกทัพเข้ายึดโคราช
ลาวส่งกองทัพไปปราบ ๒ ครั้ง แต่ก็ถูกตีแตกถึง ๒ ครั้ง
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจำเป็นต้องยกทัพไปเอง และตีเขมรถึง อังกอร์วัด
จนถึงเกาะเจ้าราม แต่สุดท้ายก็ปราชัยแก่เขมร ฝ่ายเขมรเรียกพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
ว่า “เจ้าลาวเรือหัก” แต่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสามารถเอาตัวหลบหนีมาได้ถึงเมืองอัตตะปือ
และประชวรเสด็จสวรรคตที่เมืองนี้[9]
ประวัติศาสตร์ลาว
(ดึกดำบรรพ์ – ปัจจุบัน)
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชในประวัติศาสตร์เขมร
แม้ว่าพงศาวดารลาว
จะไม่กล่าวถึงการรบระหว่างอาณาจักรล้านช้างกับเขมร
แต่ในประวัติศาสตร์เขมรหลายฉบับกลับมีการกล่าวถึงการรบครั้งนี้คล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ศักราช
และในรายละเอียดเพียงเล็กน้อย และการที่พงศาวดารลาวไม่กล่าวถึงการรบครั้งนี้
ทำให้นักประวัติศาสตร์เขมรเกิดความสงสัย ดังเช่น ตฺรึง งา กล่าวว่า
...เฉพาะความสัมพันธ์ลาว
- เขมร มีเพียงพงศาวดารเขมรเท่านั้นที่กล่าวถึงส่วนเอกสารภาษาลาว
หรือเอกสารภาษาต่างประเทศไม่ได้กล่าวถึงแม้แต่น้อย จึงทำให้เรามีความสงสัย ว่า เหตุใดพงศาวดารลาวจึงไม่กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญเช่นนี้
อาจจะพลั้งเผลอโดยไม่มีเจตนา หรือเพราะความขลาด กลัวอับอาย เสียหน้า...[10]
ในปี
พ.ศ. ๒๑๑๓[11] พระมหากษัตริย์ล้านช้าง
ได้ส่งช้างสูง ๘ ศอก พร้อมเสนาผู้ใหญ่ ๒ คน และทหารอีก ๑,๐๐๐ นาย ไปเมืองละแวก
ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทปรมินทราชา หรือพระบาทบรมราชาที่ ๔ (พ.ศ. ๑๕๖๖ - ๑๕๗๖)[12] เพื่อท้าประลองชนช้างกัน
โดยตงลงว่า หากช้างฝ่ายใดชนะ ให้เมืองที่แพ้เป็นเมืองขึ้น การชนช้างครั้งนี้ ช้างของอาณาจักรล้านช้างสูง ๘
ศอก (๔ เมตร) แต่ช้างของเขมรสูง ๗ ศอก (๓.๕
เมตร) แต่ปรากฏว่า ช้างของเขมรได้รับชัยชนะ พระบาทบรมราชาที่ ๔ ได้จับทหาร ๑,๐๐๐
นาย และช้างของลาวไว้ ปล่อยแต่เสนาผู้ใหญ่ ๒
คนกลับเวียงจันเพื่อกราบทูลผลการชนช้าง
อาเดมาร ฬืแกฺลร อธิบายว่า มีเอกสารบางฉบับกล่าวว่า
พระราชาเขมรทรงจับไว้แต่ช้าง ส่วนเสนาผู้ใหญ่ทั้งสอง และทหาร ๑,๐๐๐ นาย
พร้อมทั้งนายครวญช้าง ได้ปล่อยตัวกลับเวียงจัน พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงกริ้ว
เมื่อทราบผลในการชนช้าง ประกอบกับการที่พระราชากัมพูชาได้จับช้างไว้
นี้คือการชี้แจงว่า เรื่องในการชนช้างเวลานั้นไม่ใช่การพนันเอาแผ่นดินเลย[13]
การชนช้างระหว่างล้านช้างกับเขมรใกล้เมืองละแวก
ภาพจาก
: ชนชาติเขมร ภาค ๒
ยกทัพตีเขมรครั้งที่
๑การยกทัพตีเขมรครั้งที่ ๑ ประวัติศาสตร์เขมร กล่าวว่า เสด็จลาวมีความโกรธแค้นในการชนช้าง จึงผูกอาฆาตคิดจะแก้แค้นเขมร ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๑๑๔[14] เสด็จลาว บัญชาให้ยกทัพเข้าตีเขมรทั้งทางบกและทางน้ำ โดยทางน้ำให้พระมหาอุปราช นำทัพพร้อมทหาร ๕๐,๐๐๐ ส่วนทัพของเสด็จลาว ซึ่งยกทัพทางบก มีทหารถึง ๗๐,๐๐๐ และได้ยกทัพเข้าโจมตีค่ายเขมรถึง พนมสอนตุก หรือสันทุก (อยู่ในเขตกำปงสวาย) แต่ถูกกองทัพของพระบรมราชาที่ ๔ และกองทัพของราชบุตรศรีสุริโยพรรณ กระนาบตีปราชัยไป[15] บางฉบับกล่าวว่า เสด็จลาวและเสด็จเขมรได้ยกทัพเข้าประจัญหน้ากัน ปรากฏว่า เสด็จลาวแพ้ เขมรจับทหารลาวเป็นเฉลยจำนวนมาก และต่อมาได้นำเฉลยศึกลาวจำนวน ๑,๐๐๐ คน ไปอาศัยอยู่บริเวณบาราย[16] ที่เหลือจากนั้นให้ไปอยู่บริเวณข้างทิศใต้และข้างทิศตะวันตก[17]
ส่วนทัพเรือของอาณาจักรล้านช้างซึ่งบัญชาการรบโดยมหาอุปราชลาว นำทหาร ๕๐,๐๐๐ ล่องตามลำน้ำโขงมาถึงบริเวณปากน้ำในเขตสีสันทร แต่ต้องพบกับทัพของพระสัตถา ราชบุตรของพระบรมราชาที่ ๔ ซึ่งมีทหารเพียง ๒๐,๐๐๐ เข้าโจมตีทัพของมหาอุปราชล้านช้างแตกไป[18]
พระบรมราชาที่ ๔ เสด็จกลับคืนเมืองละแวก ทรงจัดงานฉลองชัยชนะ และจัดให้เฉลยศึกลาว ๘๐๐ คน ไปอยู่ในบ้านบัตนัง อีก ๕๐๐ คน อยู่สำหรับอุปฐากรักษาวัดพนมเปญ พวกนี้เขมรเรียกว่า “ลาวเรือแตก” หรือ “ลาวเรือหัก”[19]
ยกทัพตีเขมรครั้งที่ ๒
ในปี พ.ศ. ๒๑๑๕[20] ครั้งนี้ลาวไปยกทัพมาตามแม่น้ำโขง เสด็จลาวได้เกณฑ์ทัพมีจำนวนพล ๒๐,๐๐๐ ให้มหาอุปราชนำลงเรือแข่งมาตีกัมพูชาอีกครั้ง พระราชากัมพูชา ได้นำทัพ ๕๐,๐๐๐ ไปสกัดทัพลาว เผชิญหน้ากันบริเวณโรกาโกง บนเกาะเจ้าราม (อยู่ในเขตกำปงจาม) ห่างจากพนมเปญ ๓๕ กิโลเมตร ศึกครั้งนี้ เรือพวกลาว ได้ถูกเผาผลาญทำลายอย่างย่อยยับ พวกทหารลาวที่รอดพ้นจากการรบครั้งนี้ ต้องเดินไปเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กลับคืนบ้านเมือง และถูกชาวบ้านตามไล่ตีต่อไปอีก[21] เอกสารบางฉบับ กล่าวว่า ในขณะนั้น พม่าและสยามเข้าตีเวียงจัน ประกอบกับมีฝนตกหนัก ทัพลาวจึงล่าถอยกลับไปทั้งหมด[22]
ชนชาติเขมร ภาค ๒
ประวัติวิทยา
สำหรับปฐมศึกษา
การที่ประวัติศาสตร์เขมรกล่าวถึงการรบระหว่างล้านช้างกับเขมร
ทำให้ทราบว่า กองทัพของอาณาจักรล้านช้าง ยกทัพโจมตีเขมรถึง ๒ ครั้ง
แต่ทัพของล้านช้างเข้าไม่ถึงเมืองหลวงของเขมรเลยทั้งสองครั้ง ซึ่งในสมัยนั้น
เมืองหลวงของเขมรได้ย้ายมาที่เมืองละแวกแล้ว และประวัติศาสตร์เขมรไม่ได้กล่าวถึงการจับตัวของเสด็จลาว
หรือการสวรรคตของเสด็จลาว ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า
การยกทัพเข้าตีเขมรและกองทัพฝ่ายลาวแตกถึง ๒ ครั้ง
กษัตริย์ลาวได้รอดพ้นจากการถูกจับได้ทุกครั้งไป ซึ่งอาจจะตรงกับประวัติศาสตร์ลาว
ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จสวรรคตที่เมืองอัตตะปือ
พร้อมกับได้ก่อเจดีย์ไว้ที่เมืองอัตตะปือ ซึ่งมีเรื่องเล่าขานกันมาว่า
มีพระธาตุองค์หนึ่ง เป็น “ธาตุพระไชย”
รวมทั้งมีเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างวัดและพระกรณียกิจของพระไชย
จนกระทั่งภาครัฐของ สปป.ลาว ต้องเปลี่ยนชื่อจาก “เมืองอัตตะปือ” มาเป็น “เมืองไชยเชษฐา”[23]
ซึ่งในปัจจุบัน เมืองไชยเชษฐา เป็นเมืองในแขวงอัตตะปือ[24] อยู่ทางภาคใต้ของลาวและมีพรมแดนติดกับประเทศเขมร
ธาตุพระไชย
วัดพระไชย เมืองอัตตะปือ
แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นองค์ใหญ่หรือองค์กลาง
ภาพจาก
:
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์
[6]อิดกะบือ หรือบางแห่งเรียกว่า
อิตตะปือ เป็นภาษาของชนเผ่าบราว (Brao) หรือชาวละแว ซึ่งเป็นภาษาตระกูลมอญ – เขมร คำว่า “อิด” หมายถึง มูลหรืออุจจาระ, ส่วนคำว่า “กะบือ” หรือ “ตะปือ” หมายถึง ควาย บริเวณนี้เป็นที่หยุดพักของฝูงควายจำนวนมาก
จึงทำให้มีขี้ควายหรืออิดกะบือจำนวนมาก ต่อมาเพี้ยนเป็น “อัตตะปือ” (ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ และคณะ,
ม.ป.ป. : ๘๑ – ๘๒)
[7]สุเนด
โพทิสาน และหนูไช พูมมะจัน, ประวัติศาสตร์ลาว
(ดึกดำบรรพ์ ถึง ปัจจุบัน), (เวียงจัน
:
โรงพิมพ์แห่งรัฐ, ๑๙๘๗), ๒๑๒ – ๒๑๓.
ความคิดเห็น