พลาญชัย พระลานชัย
บุญชู ภูศรี
คำว่า พระลาน กับ พลาญ พบว่ามีความแตกต่างในการเขียนระหว่าง
บึงพลาญชัย (ซึ่งมักจะเขียนอธิบายเพิ่มท้ายเสมอว่า “หลักฐานเดิมเขียนเป็น
บึงพระลานชัย”) และคำว่า วัดบึงพระลานชัย ซึ่งมีพื้นที่ติดกัน แต่เขียนแย้งกัน ซึ่งยังมีปัญหาที่มา
คำที่ควรใช่ ความหมายที่ควรเป็น
ความน่าจะเป็นของ
“พลาญชัย”
หากเราจะอิงไปที่ภาษาเขมร
เราสามารถจะได้คำตอบเรื่องนี้ก็เป็นได้ คำว่า “พลาญชัย” เป็นคำ ๓ คำ พระ+ลาน+ชัย
คำว่า พระลาน ปรากฏในเขมรสมัยกลาง (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕-๑๘) และสมัยปัจจุบัน
เขียนว่า
/พฺระลาน/ ออกเสียงว่า
“เปรียะเลียน” แปลว่า ลานศักดิ์สิทธิ์[๑]
ภาษาเขมรสะกดด้วย “น” แล้วกลับกลายมาเป็นสะกดด้วย
“ญ” มีให้เห็นเสมอในภาษาไทย เช่น
เขมร ถ่ายถอด ไทย
ច្រើន เจฺรีน เจริญ
រំគាន รํคาน รำคาญ
បំណាន บํณาน บำนาญ
คำว่า
พระลาน ออกมาเป็น พลาญ หรือ พลาน ได้อย่างไร อยู่ที่กระบวนการที่เรียกว่า “กร่อนเสียง”
คือ กร่อนเสียง r
ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาเสียแล้วในภาษาไทย ซึ่งแม้แต่อยุธยารับมาแรก ๆ
ก็เขียนไม่เป็นเอกภาพกัน เช่น มหาชาติคำหลวง “ราชงฺคเณ ฐปยึสุ
ก็มาประดิษฐานพระราชกุมาร ในพ่างพระลาญไชยท่านน้นน ยงงพิถียพลาญเลอศน้นน”[๒]
ส่วนอีกคำหนึ่งเป็นคำว่า “ชัย”
ซึ่งเป็นคำบาลีสันสกฤต ใช้ขยายพระลาน ซึ่งอาจจะแปลว่า “พระลานแห่งชัยชนะ” ก็ได้
คำว่า “พระลาน” จึงเขียนได้ทั้ง พลาญ พะลาน และพระลาน ดังกล่าวมานี้
พลาญชัย เป็นมงคลนาม ที่หมายถึง
ลานหรือสนามสำหรับงานพระราชพิธี หรือเป็นลานของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งใช้ประโยชน์ในราชการงานหลวง
พัฒนาการของ
“พลาญ” ในวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
ในภาคอีสานก็มีปริศนาภาษิตโบราณว่า
“อยากกินข้าวให้ปลูกใส่พะลานหีน อยากมีศีลให้ฆ่าพ่อตีแม่
อยากให้คนมาแว่ให้ฆ่าเจ้าเอาของ”[๓] คำว่า “พระลาน” หมายถึง
“ลานหินขนาดกว้างมักจะพบรวมอยู่ใกล้ ๆ กับตาด (ลานหินไม่กว้างนัก)
ซึ่งจะอยู่ชั้นล่างสุดของน้ำตก
บางแห่งเรียกว่า ลานหิน หรือ หินดาด หรือ ลานหินดาด[๔]
เราจะย้อนกลับไปค้นคำว่า “พระลาน” ในมหากาพย์ท้าวฮุ่งท้าวเจือง
ในช่วงแรก ใช้คำว่า “ข่วง”
ซึ่งมีความหมายกว้าง หมายถึง สนาม “พ้นเถื่อนกว้างเถิงข่วง สมคาม” คำว่า “ข่วง” จึงเป็นสนามที่กว้างใหญ่
รวมถึงบริเวณลานในพระราชวัง ก็เรียก “ข่วง” ได้โดยมักจะคำเสริมศักดิ์ด้านหน้าหรือด้านหลังคำว่าข่วง
เช่น ราชค่วงคุ้ม[๕]
ข่วงโฮงหลวง ข่วงสนามหลวง[๖] หรือกระทั่ง
ราชคุ้มควงราชอินทร์แปลง[๗] เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นข่วงขนาดใหญ่
ข่วงของพระราชา
ในช่วงแรกของท้าวฮุ่งจะใช้คำว่า
“ข่วง” ต่อมาจึงใช้คำว่า “พระลาน” พบคำว่า พระลาน[๘] พระลานเพียง[๙] พระลานหลวง[๑๐] และใช้พระลานผสมปนกับ
ข่วง เช่น “คนกมก้ามพระลานเพียง ล้นข่วง”[๑๑] บางครั้งใช้ซ้อนกับว่าข่วงเลย
เช่น “เถิงแห่งห้องสวนกว้างข่วงพะลาน”[๑๒] โดยเติมคำวิเศษณ์เข้าด้านหลังของคำ
คือ พระลานหลวง=ข่วงขนาดใหญ่ พระลานเพียง=ข่วงพื้นเรียบ เป็นต้น
สรุป
คือ ใช้คำว่า “ข่วง” แทนคำว่า บริเวณ แล้วรับ “พระลาน” ที่เป็นคำเขมรที่มาใช้แทน ทั้งใช้ผสนมและใช้แทนคำว่า
“ข่วง” รวมทั้งปรับรูปลักษณ์ แต่งตัวคำว่า พระลาน เป็น พลาญ แล้วเสริม เติม คำหน้า
คำหลัง ใช้ในวรรณกรรม และคำพูดทั่วไป จนกระทั่งเห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ภาพ ๒ : วัดบึงพระลานชัย ด้านทิศตะวันตก ของบึงพลาญชัย
พระลานชัย พลาญชัย
พลาญชัยและพระลานชัย
เป็นมงคลนามที่ใช้เรียก “สนามของพระราชา” ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นคำเดียวกัน แต่ต่างคนต่างใช้
ต่างเขียน ทางศาสนจักรอาจจะเทียบบาลีเป็นตัวตั้ง เห็นว่าพระลานชัย เป็นบาลีมากกว่า
ส่วนอาณาจักรใช้คำว่า พลาญชัย ด้วยอาจจะเห็นว่าเป็นเขมรมากกว่า สำหรับในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง
สปป.ลาว ก็เจอคำว่า พะลานไช (
) เป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดสะหวันนะเขด
แต่ด้วยระบบการเขียนของลาวที่เขียนตามเสียง คือออกเสียงอย่างไร เขียนอย่างนั้น จึงไม่มีข้อสงสัยเรื่องคำใดเขียนผิดเขียนถูก
ส่วนคำว่า “ชัย” ที่เติมเข้าด้านหลังนั้น
เป็นภาษาบาลีสันสกฤต เสริมคำว่า พระลาน/พะลาน/พลาญ ให้เป็นมงคลนามมากขึ้น
และเสริมให้เป็นลานเลิศกว่าลานอื่นทั้งปวง ดังนั้น พลาญชัย พระลานชัย และพะลานไช จะแปลว่า
ลานแห่งชัยชนะ หรือลานฉลองชัยชนะก็ได้
ภาพที่ 3 : พะลานไช
ภาพวาดแผนที่ภายในบริเวณปั้มน้ำมัน ตามทางหมายเลข ๑๓ ของ สปป.ลาว
[๑]อุไรศรี วรศะริน. ร่องรอยภาษาเขมรในภาษาไทย.
(กรุงเทพฯ :
ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร), น. ๒๑๓.
ความคิดเห็น